วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ความหมายของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronic device) ที่ มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้า หรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความถูกต้องและมีความรวดเร็วอย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน 4 อย่าง (IPOS cycle)คือ
  1.รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
   2.ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
   3.แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
   4.เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต 

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เบื้องต้น

ข้อแนะนำในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เบื้องต้น
การดูแลรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
  1). ควรตั้งเครื่องให้ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 15 ซ.ม. เพื่อให้อากาศถ่ายเท
  2). ไม่ควรตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้บนที่อากาศไม่ถ่ายเทมีฝุ่นละอองมาก อุณหภูมิไม่คงที่มีแสงแดดส่อง ,มีความชื้นสูง มีการสั่นสะเทือนบ่อย ใกล้กับแหล่งกำเนิดไฟฟ้าแรงสูงสนามแม่เหล็ก
  3). ไม่ควรวางสิ่งของไว้ที่ทางระบายอากาศของจอภาพและตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
  4). ไม่ควรวางสิ่งของไว้ที่ทางระบายอากาศของจอภาพและตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
  5). ไม่ควรนำกาแฟ หรือของเหลวอื่นๆ มาตั้งใกล้เครื่อง และระวังเรื่องการสูบบุหรี่ขณะที่ใช้เครื่อง เพราะสิ่งเหล่านี้อาจทำให้เครื่องเสียหายได้
  6). ไม่ควรเคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือถอดสายใด ๆ ที่ต่อเชื่อมกับเครื่องขณะกำลังเปิดใช้งานอยู่
  7). ไม่ควรดึงแผ่นดิสก์ออกก่อนที่ไฟบน DISK DIRVE จะดับ
  8). หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วไม่ควรเปิดเครื่องโดยทันที ให้รอสักประมาณ นาที จึงเปิดเครื่องใหม่ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้เครื่องเสียง่าย
  9). ควรทำความสะอาดหัวอ่าน / เขียนแผ่นดิสก์ ซึ่งอยู่ในตัว DISK DRIVE อย่างน้อยเดือนละครั้ง
  10).หากมีปัญหาเรื่องเครื่องคอมพิวเตอร์ควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญ




ข้อแนะนำในการดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ เบื้องต้น
                การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกเป็นหลักๆได้ อย่าง คือ ดูแลทางด้านฮาร์ดแวร์ (Hardware)พวกอุปกรณ์ต่างๆภายใน ภายนอกคอมพิวเตอร์ และ ซอฟแวร์ (Software) พวกโปรแกรมที่ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ว่าไปแล้วน่าจะแบ่งเป็น อย่างนะครับ อีกอย่างคือ พีเพิลแวร์ (Peopleware) คือ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์

1.การดูแลรักษา ทางด้านฮาร์ดแวร์( Hardware )
                หลักๆมีไม่กี่อย่าง  ผมจะสรุปเป็นข้อๆเลยนะครับ ดังนี้
                1.1 เรื่องความสะอาดภายในเครื่อง คือ ฝุ่นใยผ้าใยแมงมุมเส้นผม (เคยเจอครับ)พวกนี้มันจะไปเกาะอยู่ที่ซิงค์ระบายความร้อน ทำให้การระบายความร้อนของอุปกรณ์ไม่ดีเท่าไหร่ ควรดูแลทำความสะอาด เรื่องนี้ให้ความสำคัญมากหน่อย รับรองอายุการใช้งานมากขึ้นแน่นอนครับ
                1.2 ที่ตั้งของคอมพิวเตอร์ ที่เราไปวางไว้เป็นมุมอับ การระบายความร้อนจะไม่ดีเท่าที่ควร แนะนำ อย่าวางใกล้ชิดติดกำแพง หรือไปวางในมุมอับ ควรเป็นมุมที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก จะดีที่สุด ถ้าไม่มีมุมที่ตั้งจริงๆ ก็เอาพัดลมเป่าช่วยก็ได้ครับ
                1.3 สังเกตสิ่งผิดปกติของอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ ลองเปิดฝาข้างๆคอมพิวเตอร์ออกมาครับ สังเกตดูภายใน ตัวอุปกรณ์ ว่ามีรอยไหม้ หรือที่ตัวอุปกรณ์อิเลิกทรอนิคส์ เช่น ตัวคาปาซิสเตอร์ ( ตัวทรงกระบอกที่หัวมีกากบาทที่บนหัว ) ว่ามันบวมๆ ทำถ้าจะพุพองออกมารึเปล่า มีน้ำยาเยิ้มออกมาไหม ถ้าเจอว่ามี รีบส่งซ่อมเลยนะครับ เดี๋ยวคอมพิวเตอร์เราจะเสียมากก่าเดิม แล้วก็พวกพัดลมต่างๆในเครื่องว่าหมุนดี ทุกตัวรึเปล่า ตัวไหนหยุดหมุน ก็เปลี่ยนได้ ไม่จำเป็นถึงขั้นต้องซื้อเครื่องคอมใหม่ แต่ถ้าปล่อยไว้นาน ก็อาจต้องซื้อใหม่ได้นะนั่น

2.การดูแลรักษา ทางด้านซอฟแวร์ ( Software )
                เรื่องซอฟแวร์ ผมว่ายากเหมือนกันนะ มีโอกาสเจอได้หลายรูปแบบ อธิบายยากอยู่ แต่เอาแค่ ข้อระมัดระวัง ดูแลรักษาเบื้องต้นดีก่า ง่ายๆทำได้เอง ไม่เป็นไม่ค่อยรู้เรื่องก็ยังทำได้บ้าง แล้วค่อยเรียนรู้ต่อไป
                2.1 การลงโปรแกรม อันไหนไม่ใช้ก็ไม่ต้องลง ลงเฉพาะที่เราใช้ เป็นดีครับ เอาโปรแกรมเข้าๆออกๆ ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ นะครับ บางทีเครื่องอืดไปเลยก็มี แฮงค์ๆค้างๆ บางโปรแกรมกลับใช้ไม่ได้อีก อะไรประมาณนี้หละครับ ทางที่ดีก็ลงเท่าที่ใช้และกันครับ เป็นดี พวกเกมก็เหมือนกัน กินพื้นที่ในฮาดส์ดิสเยอะ เดี๋ยวพื้นที่จะน้อยเกินไปจนวินโดว์ทำงานไม่ได้ โดยเฉพาะในไดร์ซี ระวังๆตรวจสอบดูพื้นที่เหลือบ้าง ก่อนจะลงโปรแกรมอะไรลงไป
                2.2 การเก็บข้อมูล ข้อมูล เอกสาร ไฟล์ต่างๆที่เราจะเก็บไว้ แนะนำอย่าไปเก็บในไดร์ซี ให้เก็บไปไว้อีกไดร์ ที่เราได้แบ่งฮาดส์ดิสเอาไว้ เป็นที่สำรองข้อมูลของเราดีที่สุด ปกติไดร์ซี เป็นไดร์ที่ลงโปรแกรมเสมอ เวลามีปัญหาไดร์ซีก็โดนก่อน ฉะนั้นอย่าไปเก็บเลยนะครับไดร์ซี ไปไว้ที่อื่นแทน จะได้ข้อมูลไม่หายกัน ไดร์ซีก็ไม่เต็มเร็วด้วยนะครับ โดยเฉพาะ เพลง กับ หนัง เนี่ย กินพื้นที่เยอะเนอะ
                2.3 รู้จักสังเกตโปรแกรมแปลกๆ โปรแกรมแปลกๆที่เราไม่เคยเห็นในเครื่องเราตั้งแต่แรกๆที่เราใช้ ถ้ามีมา แล้วรู้ว่าเป็นโปรแกรมอะไร ถ้าไม่จำเป็นก็เอาออกไปเลยครับ ผมว่ามันเด้งน่ารำคาญใจดีแท้ แต่ถ้าจะเอาไว้ใช้ประโยชน์ก็ไม่ว่ากัน บางทีติดมากับตอนที่เราเล่นเน็ต ตอนที่เราคลิก Yes Ok เนี่ยหละครับ คลิกแบบไม่ได้อ่านว่ามันคืออะไร หรือว่าอ่านแล้วไม่เข้าใจแปลไม่ออก เลย Yes Ok ไว้ก่อน แต่ถ้าไม่รู้จริงๆว่ามันคือโปรแกรมอะไรก็เอาไว้ก่อน อย่าเอาออกมั่วนะครับ เดี๋ยวจะแย่เอา ดันเป็นโปรแกรมที่เราใช้งานซะอีกแย่เลยนะนั่น
                2.4 เวปยอดฮิตว้าว เวปโป๊ครับ เวปโปรแกรมพวกแฮกเกอร์ (พวกเจาะระบบ) เป็นต้นครับ ไวรัสคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่เราไม่พึงประสงค์ มันจะมากับเวปพวกนี้เยอะอยู่ ก็ถ้าอยากเข้าก็หาวิธีป้องกันไว้บ้างก็ดี หรือเวลามีข้อความแสดงให้ Yes หรือ No ก็อ่านหน่อย อย่าคลิกมั่ว บางทีมีหลอกให้เราคลิกก็มี เพราะโดยส่วนใหญ่พวกเราเห็นแบบนี้ คลิกYes ไว้ก่อนเสมอเลย แย่เลยครับ ติดไวรัส ติดสปายแวร์ ติดโปรแกรมที่เราไม่พึงประสงค์ เข้ามาในคอมพิวเตอร์เราเฉยเลย ดูดีๆ ก่อนคลิก อ่านก่อนเด้อ
                2.5 ติดโปรแกรมพวกป้องกัน ดักจับ ไวรัส โปรแกรมจำพวกนี้ควรที่จะมีในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา มีหลายแบบ ทั้งเสียเงิน ไม่เสียเงิน ก็มี ชอบตัวไหนก็ตามสบายเลยครับ แต่ที่แนะนำช่วงนี้ ก็มี NOD32 ลองไปหามาเล่นแระกันนะครับ ผมว่าน่าใช้ดี เครื่องไม่อืดด้วย มีโปรแกรมแล้ว อย่าลืมอัพเดตข้อมูลไวรัสให้โปรแกรมด้วยหละครับ จะได้รู้จักไวรัสตัวใหม่ๆบ้าง ไวรัสมันเกิดก่อน ตัวป้องกันจะมา ก็ระวังบ้างก็ดี ถ้าป้องกันแล้วยังโดนอีก ก็เนอะ ถือเป็นเรื่องปกติครับ ทำใจครับ แก้กันไป แต่ผมว่า ไวรัส กับ คอมพิวเตอร์ เป็นเนื้อคู่กันนะ ขาดกันไม่ได้
                2.6 การดูแล และ บำรุงรักษาระบบ ขั้นพื้นฐาน อันนี้ทำได้สม่ำเสมอเป็นดีครับ โปรแกรมก็ไม่อืด ไม่ช้า เป็นการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไปในตัวด้วยนะครับ สิ่งที่ทำก็คือ Disk Cleanup ( เก็บกวาดขยะบนฮาร์ดดิส ), Check disk ( ตรวจสอบสภาพฮาร์ดดิส ) และ Disk Defragmenter ( จัดเรียงข้อมูลเพื่อเร่งความเร็ว )

3.พีเพิลแวร์ ( Peopleware )
                บุคคลที่ใช้งานคอมพิวเตอร์ ในส่วนตัวผมแล้วผมว่า อันนี้ ควรดูแลมากที่สุดเลยนะเนี่ย คนเนี่ยหละทำให้เสียบ่อย เรามาว่ากันครับว่าอะไรบ้างที่ควรรู้ ควรกระทำ ควรแก้ไข ลองมาสรุปกันนะครับ
                3.1 รักการอ่าน อ่านครับ มีไรเด้งมา อ่านสักนิด จะได้รู้ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ภาษาอังกฤษไม่แข็งแรง ดิกชินนารี ก็เปิดแปลได้ครับ ทำบ่อยๆอีกหน่อยเดี๋ยวก็รู้เอง คำศัพท์มันจะซ้ำๆกัน แล้วจะรู้ว่าจะทำยังงัยต่อไป ถ้าแปลไม่ได้จริงๆ ไม่เข้าใจก็ถามคนที่รู้ คนที่เก่งคอมพิวเตอร์แล้วเรียนรู้การใช้งานได้ไว ส่วนใหญ่ที่ผมเจอรักการอ่านทั้งนั้นเลยนะครับ อ่านสักหน่อยรับรองใครไม่รู้เรื่องคอม เก่งเลย
                3.2 อารมณ์ ประเภทเปิดไม่ทันใจ หรือค้าง ก็เคาะคีย์บอร์ดแรงๆ กระแทกเมาท์แรงๆ ดับเบิ้ลคลิกซอยๆ ถ้าทำแล้วมันแก้ไขได้ทำต่อเลยจ๊ะ อันนี้ประชดนะครับ เรื่องนี้ก็ควบคุมกันหน่อย คอมพิวเตอร์มีปัญหาต้องใช้สติปัญญาแก้ไขว่าเป็นเพราะอะไรแล้วแก้ไขให้ถูกที่ ไม่ได้ใช้อารมณ์แก้ไข มาตบๆกระแทกๆ สงสารคอมพิวเตอร์มันนะครับ
                3.3 มั่ว เจอบ่อยครับประเภทไม่รู้ แล้วมั่ว ไหนจะมั่วก็มั่วแบบมีหลักการหน่อย ที่จริงไม่รู้ก็ถาม อย่าทำมั่ว โดยเฉพาะเรื่องการต่ออุปกรณ์ การใช้งานอุปกรณ์ หรือ ต่ออุปกรณ์เสริมต่อพ่วงต่างๆ ก่อนใช้งาน ดูคู่มือสักนิด ก่อนใช้งานสักหน่อย ไม่ใช่ว่าเจอรูเป็นเสียบอย่างนี้ไม่เอานะครับ เผื่อผิดเดี๋ยวอุปกรณ์พังกันเป็นแถบๆ ช่องเสียบใส่ไม่เข้าเล่นจับอัดเข้าไปแบบนี้เป็นต้น อุปกรณ์พังหมดครับ ศึกษาคู่มือสักนิดก่อนใช้งาน

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์

คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
         ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคนก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ คือ
  • ความเร็ว (speed) คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้สามารถทำงานได้ถึงร้อยล้านคำสั่งในหนึ่งวินาที
  • ความเชื่อถือ (reliable) คอมพิวเตอร์ทุกวันนี้จะทำงานได้ทั้งกลางวันและกลางคืนอย่างไม่มีข้อผิดพลาด และไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย
  • ความถูกต้องแม่นยำ (accurate) วงจรคอมพิวเตอร์นั้นจะให้ผลของการคำนวณที่ถูกต้องเสมอหากผลของการคำนวณผิดจากที่ควรจะเป็น มักเกิดจากความผิดพลาดของโปรแกรมหรือข้อมูลที่เข้าสู่โปรแกรม
  • เก็บข้อมูลจำนวนมาก ๆ ได้ (store massive amounts of information) ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จะมีที่เก็บข้อมูลสำรองที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งพันล้านตัวอักษร และสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะสามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่าหนึ่งล้าน ๆ ตัวอักษร
  • ย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกทีหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (move information) โดยใช้การติดต่อสื่อสารผ่านระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร ซึ่งสามารถส่งพจนานุกรมหนึ่งเล่มในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลคนซีกโลกได้ในเวลาเพียงไม่ถึงหนึ่งวินาที ทำให้มีการเรียกเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกันทั่วโลกในปัจจุบันว่า ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway)
         ผู้ที่สนใจศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ จะต้องศึกษาหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมทั้งจะต้องศึกษาถึงผลกระทบจากคอมพิวเตอร์ต่อสังคมในวันนี้ ทั้งในแง่บวกและแง่ลบ โดยในแง่บวกนั้นจะมองเห็นได้ง่ายจากสภาพแวดล้อมทั่วไป นั่นคือทำให้สามารถทำงานต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกและรวดเร็วขึ้น เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บเอกสาร การพิมพ์จดหมาย การจัดทำหนังสือพิมพ์และวารสารต่าง ๆ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การจ่างเงินซื้อสินค้า ตรวจความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย
ในแง่ลบก็มีไม่น้อย เช่น
  • โรงงานผลิตอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นต้องใช้สารเคมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ มากมาย
  • ผู้ใช้อาจมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ เช่น อาจมีการปวดหลังไหล่ที่เกิดจากการนั่งอยู่หน้าเครื่องนาน ๆ หรืออาจเกิดอาการ Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ซึ่งเป็นอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อมูลถูกกดทับเป็นเวลานาน ๆ โดยอาจเกิดจากการใช้คีย์บอร์ดหรือเมาส์ รวมทั้งอาจมีอันตรายจากรังสีออกมาจากจอคอมพิวเตอร์ด้วย
  • ถ้าคอมพิวเตอร์ทำงานผิดพลาดในระบบที่มีความสำคัญมาก ๆ อาจเป็นอันตรายกับชีวิตมนุษย์ได้ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมการจราจรทางอากาศ เป็นต้น 

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์


ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก คือ
  • ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง แต่จะมีราคาแพงที่สุด รวมทั้งต้องอยู่ทีห้องได้รับการควบคุมอุณหภูมิ และปราศจากฝุ่นละออง ทำให้ต้องเป็นองค์กรขนาดใหญ่เท่านั้น จึงสามารถจัดหาเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์มาใช้งานได้ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้จำนวนหลาย ๆ คน นำมาใช้ในการคำนวณที่ซับซ้อน เช่นการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมันเป็นต้น รวมทั้งพบมากในวงการวิจัยในห้องปฎิบัติการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกสร้างในปี ค.ศ 1960 ที่องค์กรของสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ความเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซูเปอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการใช้หลักทีเรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัว เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน โดยที่งานเหล่านั้นมีความแตกต่างกัน งานที่ไม่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปในประมวลผลแต่ละตัวก็ทำงานได้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลกลางทั้งหมด 4 ตัว แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีความพัฒนามากจึงทำให้มีหน่วยประมวลผลนับร้อยตัวทำงานพร้อม ๆ กัน
ความเร็วของซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะมีการวัดหน่วยเป็น นาโนวินาที (nanosecond) หรือเศษหนึ่งพันล้านวินาที และ จิกะฟลอป (gigaflop) หรือการคำนวณหนึ่งพันล้านครั้งในหนึ่งวินาทีซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้ถึง 128 จิกะฟลอป และใช้เครื่องที่มี สายส่งข้อมูล (data bus) กว้าง 32 หรือ 64 บิต
จากคุณสมบัติของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าผู้ใช้ควรนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปใช้ในการคำนวณมากๆ เช่น งานด้านกราฟฟิก หรือการคำนวณทางด้านวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  • เมนเฟรม (Mainframe)
เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไป จัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งในช่วงปลาย ค.ศ 1950 บริษัท IBM จัดเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ โดยเกิดจากการมีส่วนแบ่งตลาดในการขายเครื่องระดับเมนเฟรมถึง 2 ใน 3 ของผู้ใช้เครื่องเมนเฟรอทั้งหมด เครื่องเมนเฟรมจะเป็นเครื่องที่มีขนาดใหญ่ ต้องอยู่ในห้องที่ได้รับการอุณหภูมิ และปราศจากฝุ่นละอองเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์
เครื่องเมนเฟรมนิยมมาใช้ในงานที่มีการรับและแสดงผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ เครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะได้การพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวณประมวลผลน้อยกว่า หน่วยเมนเฟรมจัดอยู่ในความเร็วของหน่วย เมกะฟรอป (megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที
ระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องเมนเฟรม ส่วนมากจะมีหน่วยคอมพิวเตอร์ย่อยๆ ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการทำงานบางประเภทให้กับเครื่องหลัก สามารถแยกตามหน้าที่ได้ดังนี้
  • Host processor เป็นเครื่องหลักทำหน้าที่ควบคุมหน่วยประมวลผล อุปกรณ์รอบข้าง และการคำนวณต่างๆ
  • Font-end processor มีหน้าที่ควบคุมติดต่อระหว่างหน้าจอของผู้ใช้งานที่เรียกว่า จอเทอร์มินัลระยะไกล (remote terminal) กับระบบคอมพิวเตอร์หลัก
  • Bank-end processor มีหน้าทีจัดการเกี่ยวกับการใช้ข้อมูล
โปรเซสเซอร์ส่วนต่าง ๆ บนเมนเฟรม

ระบบคอมพิวเตอร์ของเตรื่องเมนเฟรม มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะรองรับผู้ใช้ได้หลายร้อยคนพร้อม ๆ กัน ซึ่งผู้ใช้เหล่านั้นอาจจะนั่งทำงานอยู่ใกล้เครื่องเมนเฟรม หรืออาจจะอยู่ที่อื่นซึ่งไหลออกไปก็ได้ เครื่องเมนเฟรมจะเก็บโปรแกรมของผู้ใช้เหล่านั้นไว้ในหน่วยความจำหลัก และมีการสับเปลี่ยนหรือสวิทซ์การทำงานระหว่างโปรแกรมต่าง ๆ เหล่านั้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ผู้ใช้จะไม่รู้สึกเลยว่ามีการสับเปลี่ยนการทำงานไปทำงานของคนอื่นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วกว่ามนุษย์มาก หลักการที่เครื่องเมนเฟรมสามารถทำงานหลายโปรแกรมพร้อม ๆ กันนั้น เรียกว่า มัลติโปรแกรมมิง (multiprogramming)
  • มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ 1960 ต่อมาจากบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ประกาศตัวมินิคอมพิวเตอร์ DEC POP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ 1965 ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเมนเฟรมมาก เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเมนเฟรม โดยจะสามารถรองรับผู้ใช้ได้ประมาณ 200 คนพร้อม ๆ กัน แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือความเร็วในการทำงาน เนื่องจาก เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้ากว่าการควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ การะทำได้ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้สื่อที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ มีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรม ดังนั้นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จึงจัดได้ว่ามินิคอมพิวเตอร์เป็นขนาดกลาง
  • เวิร์คสเตชัน (Workstation) และไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
ในการทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น จะทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้เอง โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น
คอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้คนเดียว สามารถแบ่งออกเป็น 2 รุ่น คือ
เวิร์คสเตชั่น ถูกออกแบบมาให้เป็นคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่มีความสามารถในการคำนวนด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่นๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟฟิกต่าง ๆ เช่น การนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟฟิกในโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อออกแบบชิ้นส่วนใหม่ ๆ เป็นต้น ซึ่งจากการที่ต้องทำงานกราฟฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชั่นใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพมาก รวมทั้งมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย มีผู้ใช้บางกลุ่มเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชั่นนี้ว่า ซูเปอร์ไมโคร (supermicro) เพราะออกแบบมาให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะ แต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจาก เวิร์คสเตชั่นส่วนมากใช้ชิปประเภท RISC (reduce instruction set computer) ซึ่งเป็นชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง
ไมโครคอมพิวเตอร์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 และได้รับความนิยมอย่างเมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันจะมี 2 ชนิดคือ Apple Macintosh และ IBM PC
ในปัจจุบัน ความแตกต่างหรือช่องว่างระหว่างเครื่องเวิร์คสเตชั่นและเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ เริ่มลดน้อยลงเรื่อย ๆ เพราะเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบัน มีประสิทธิภาพของเครื่องและความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเครื่องเวิร์คสเตชั่นจำนวนมาก
(ก) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (ข) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (ค) มินิคอมพิวเตอร์ (ง) ไมโครคอมพิวเตอร์

นอกจากนี้ ยังมีคอมพิวเตอร์ แบบผู้ใช้คนเดียวที่ได้รับการออกแบบให้สามารถพกพาติดตัวได้สะดวก เช่น คอมพิวเตอร์โน้ตบุค (Notebool computer) คอมพิวเตอร์ปาล์มทอป (Palmtop computer) และ PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งคอมพิวเตอร์เหล่านี้ จัดได้ว่าเป็นเครืองไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งขนากเล็ก น้ำหนักเบา และมีรูปลักษณ์ที่เหมาะกับการพกพา
(ก) โน้ตบุค (ข) พีดีเอ

  • คอมพิวเตอร์เครือข่าย (Network computers)
เป็นคอมพิวเตอร์แบบใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากไมโครคอมพิวเตอร์ โดยได้รับอิทธิพลมาจากแนวคอมพิวเตอร์อินเตอร์เนต คอมพิวเตอร์เครือข่ายหรือที่นิยมเรียกว่า NC จะถูกออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่ำ ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อย ทำให้เหมาะสมกับการใช้งานปริมาณมาก ๆ ในองค์กรขนาดใหญ่ รวมทั้งการเชื่อมต่ออินเตอร์เนต
คอมพิวเตอร์เครือข่ายจะไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอยู่ในตัว การจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมตะอยู่เครื่องศูนย์กลาง (Server) ซึ่งมีข้อดีคือการเปลี่ยนรุ่น (upgrade) ซอฟต์แวร์สามารถทำงานได้ง่าย สามารถทำงานจากเครื่องคอมพิวตอร์เครือข่ายเครื่องใดก็ได้ รวมทั้งง่ายต่อการดูแลรักษา (mailtenance) ของผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์เครือข่าย

  • คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embeddded computer)
เป็นคอมพิวเตอร์ที่ถูกฝังไปในอุปกรณ์ ทำให้มองไม่เห็นรูปลักษณ์ภายนอกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ นิยมใช้ในการทำงานเฉพาะด้านโดยควบคุมการทำงานบางอย่าง เช่น เตาอบไมโครเวฟ ระบบการเติมน้ำมัน นาฬิกาข้อมือ อุปกรณ์เล่นเกม เป็นต้น

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

  • ฮาร์ดแวร์ (Hardware)คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
    • หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
    • หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
    • หน่วยความจำหลัก
    • หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
    • หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit ) 
    หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
    หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

  • ซอฟต์แวร์ (Software)คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์(Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
    ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
    • ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
    • ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

  • บุคลากร (Peopleware)เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
    ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
    ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
    บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
    • การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
    • การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
    • การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator)เป็นต้น
    • การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
    • การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
  • ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่างข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
    ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์


การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ

  • กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
  1. จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
  2. สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
  3. เลือกรายการ
  4. ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
  5. รับเงิน
  6. รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น

วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์


วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์

            ต้นกำเนิดของคอมพิวเตอร์อาจกล่าวได้ว่ามาจากแนวความคิดของระบบตัวเลข ซึ่งได้พัฒนาเป็นวิธีการคำนวณต่าง ๆ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ช่วยในการคำนวณอย่างง่าย ๆ คือ" กระดานคำนวณ" และ "ลูกคิด"


ในศตวรรษที่ 17 เครื่องคำแบบใช้เฟื่องเครื่องแรกได้กำเนิดขึ้นจากนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศษ คือ Blaise Pascal โดยเครื่องของเขาสามารถคำนวณการบวกการลบได้อย่างเที่ยงตรง และในศตวรรษเดียวกันนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันคือ Gottried Wilhelm von Leibniz ได้สร้างเครื่องคิดเลขเครื่องแรกที่สามารถคูณและหารได้ด้วย
     ในต้นศตวรรษที่ 19 ชาวฝรั่งเศษชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าที่สามารถสั่งด้วยโปรแกรมได้ โดยเครื่องทอผ้านี้ใช้บัตรขนาดใหญ่ ซึ่งได้เจาะรู้ไว้เพื่อควบคุมรูปแบบของลายที่จะปัก บัตรเจาะรู(punched card) ที่ Jacquard ใช้นี้ได้ถูกพัฒนาต่อๆมาโดยผู้อื่น เพื่อใช้เป็นอุปกรณ์ป้อนข้อมูลและโปรแกรมเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคแรกๆ
     ต่อมาในศตวรรษเดียวกัน ชาวอังกฤษชื่อ Charles Babbage ได้ทำการสร้างเครื่องสำหรับแก้สมการโดยใช้พลังงานไอน้ำ เรียกว่า difference engine และถัดจากนั้นได้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์สมัยใหม่ เมื่อเขาได้ทำการออกแบบ เครื่องจักรสำหรับทำการวิเคราะห์ (analytical engine) โดยใช้พลังงานจากไอน้ำ ซึ่งได้มีการออกแบบให้ใช้บัตรเจาะรูของ Jacquard ในการป้อนข้อมูล ทำให้อุปกรณ์ชิ้นนี้มีหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล และหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง ครบตามรูปแบบของคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ แต่โชคไม่ดีที่แม้ว่าแนวความคิดของเขวจะถูกต้อง แต่เทคโนโลยีในขณะนั้นไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างเครื่องที่สามารถทำงานได้จริง อย่างไรก็ดี Charles Babbage ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์คนแรก และผู้ร่วมงานของเขาคือ Augusta Ada Byron ก็ได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนโปรแกรมคนแรกของโลก